🔮สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย🔮
เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ผู้วิจัย: มาลี หมวดไธสง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
📒ความมุ่งหมายของวิจัย
1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการ
จัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
📗ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเป็น
แนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยน าไปพัฒนา
ทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป
📘ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิสมุทรปราการ จำนวน 180 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล
ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิสมุทรปราการ จ านวน
4
180 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการ
สุ่ม (Sampling unit) โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน
📓ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
📔สมมุติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มี
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
📖วิธีดำเนินการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8
สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันละประมาณ 40 นาที รวม 24 โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. ผู้วิจัยท าการทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย (Pretest) ก่อนการทดลอง
จากนั้นน ามาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน
3. ผู้วิจัยท าการทดลองด้วยแผนการจัดกิจกรรมกร ะบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่
ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์
4. หลังจากการทดลองผู้วิจัยท าการ ทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
(Posttest) หลังการทดลองซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง
5. นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง
📌 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
1. แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย
📢สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวิจัยมีดังนี้
1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัด
กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัด
กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น