วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ตัวอย่างการสอน แสงกับการมองเห็น


สรุปการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

🔎เรื่อง แสงกับการมองเห็น🔍

โรงเรียน โคดิโคต เมืองเฮิร์ตฟอร์ตเชียร์

ที่มา: โทรทัศน์ครู💻



สอนโดยครู เฮเลน เอเคอร์ การเรียนการสอนเริ่มจากการเล่านิทาน เรื่อง หมีตัวเล็กที่กลัวความมืด ครูจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยโดยจะสร้างถ้ำให้เด็ก และเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก สิ่งที่เชื่อมั่น คือ การจัดกิจกรรมเชิงจิตนาการให้แก่เด็ก แต่คงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เด็กรู้สึกสบาย เน้นการเล่าเรื่องแล้วให้เด็กสำรวจ

ครูนำเข้าสู้บทเรียน โดยครูเล่านิทานให้เด็กฟังก่อน จากนั้นใช้คำถามกระตุ้นความคิดเด็ก ถามเกี่ยวกับนิทานในเรื่องนั้นและประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับแสงแล้วจึงสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์ที่สำคัญ

🎀จากนั้นให้เด็กทำกิจกรรม🎀

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจากแหล่งกำเนิดแสง คือ ถ้ำมืด กล่องแสง ถ้ำเล็กๆที่ทำจากกล่องรองเท้า ใช้คำถามให้เด็กคาดการณ์ว่า เห็นตุ๊กตาสีอะไรเมื่ออยู่ในถ้ำที่ไม่มีแสง จากนั้น รอบแรกให้เด็กเข้าไปสำรวจในถ้ำ รอบที่สอง ให้แหล่งกำเนิดแสง คือ ไฟฉาย แล้วจึงมาตรวจคำตอบที่คาดการณ์ไว้

กิจกรรมที่ 2 ให้เด็กหาสิ่งของที่อยู่ในกล่องมืด ให้เด็กลองค้นพบวิธีทำให้เราเห็นของข้างใน โดยการใช้ไฟฉาย และขยายรูที่ทำให้มองเห็นใหญ่ขึ้น (ให้เด็กได้ลองลงมือปฏิบัติ และค้นพบด้วยตนเอง)

ครูเฮเลน ให้แนวคิดที่ว่า เราต้องการแสงเพื่อการมองเห็นโดยใช้การสำรวจค้นคว้า 2 อย่าง โดย ถ้ำใหญ่และถ้ำรองเท้า ให้เด็กๆพบแหล่งกำเนิดแสงโดยใช้กล่องแสง ไฟฉาย กิจกรรมทั้งหมดเริ่มต้นจากการสนใจในนิทานของเด็กๆ



บทความ การทดลองทางวิทยาศาสตร์

🔎สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย🔍

เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)

ผู้เขียน: ดร. นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์

           😃 กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง

             😀ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ 


🌸ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้

1.ทักษะการสังเกต (Observing)
2.ทักษะการวัด (Measuring)
3.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
4.ทักษะการสื่อสาร (Communicating)
5.ทักษะการลงความเห็น (Inferring) 
6.ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)

🌸การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น

การเรียนรู้ หน่วยน้ำ 
               ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการกรองน้ำ

การเรียนรู้ หน่วยผลไม้
               ครูจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้

🌸พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร

ขั้นที่ 1 พ่อแม่ควรสังเกตความสนใจ ของลูกว่า ลูกมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเรื่องใดบ้าง ซึ่งสามารถพบได้จากการคำพูด การสนทนาในชีวิตประจำวันของลูกกับพ่อแม่

ขั้นที่ 2 สร้างเสริมประสบการณ์ในเรื่องที่ลูกสนใจ โดยบูรณาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ

ขั้นที่ 3 พ่อแม่ควรสรุปความรู้หรือความคิดรวบยอด หลังจากที่เด็กได้ทดลองหรือสืบค้นข้อมูลเพียงพอแล้ว เช่น การอธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชจากองค์ประกอบของการดูแลที่แตกต่างกัน

🌷ประโยชน์ของการทดลอง🌷

  • ➧ ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ
  • ➧ ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต 
  • ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น
  • ➧ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ
  • ➧ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักรอคอย แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือทำงานร่วมกัน
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กลดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ เช่น กลัวความมืด กลัวเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น
  • ➧ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายในการทำงาน อีกทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆอีกด้วย


วิจัย ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

🔮สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย🔮

เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ผู้วิจัย: มาลี หมวดไธสง

 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
📒ความมุ่งหมายของวิจัย

1. ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการ จัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

📗ความสำคัญของการวิจัย 

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเป็น แนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดู และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยน าไปพัฒนา ทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป 

📘ขอบเขตของการวิจัย 

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุ 5 - 6 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศสุวรรณภูมิสมุทรปราการ จำนวน 180 คน 

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ สุวรรณภูมิสมุทรปราการ จ านวน 4 180 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการ สุ่ม (Sampling unit) โดยสุ่มมา 1 ห้องเรียน จ านวน 30 คน 

📓ตัวแปรที่ศึกษา 

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

📔สมมุติฐานในการวิจัย 

เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน มี ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น


📖วิธีดำเนินการทดลอง

การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันละประมาณ 40 นาที รวม 24 โดยมีขั้นตอนดังนี้  
1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์  
2. ผู้วิจัยท าการทดสอบการคิดวิเคราะห์เด็กปฐมวัย (Pretest) ก่อนการทดลอง จากนั้นน ามาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บคะแนนไว้เป็นหลักฐาน  
3. ผู้วิจัยท าการทดลองด้วยแผนการจัดกิจกรรมกร ะบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ ผู้วิจัยสร้างขึ้นและบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ระหว่างและหลังการจัดประสบการณ์ 
 4. หลังจากการทดลองผู้วิจัยท าการ ทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย (Posttest) หลังการทดลองซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ช้ในการทดสอบก่อนการทดลอง  
5. นำข้อมูลที่ใช้ได้จากการทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานและสรุปผลการทดลอง

📌 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

 ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  
1. แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน 
2. แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย

📢สรุปผลการวิจัย 

ผลจากการวิจัยมีดังนี้ 
1. ผลการศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของ เด็กปฐมวัยที่ ได้รับการจัด กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนของระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัด กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1


วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2562

(Knowledge)ความรู้😅
➧คาบนี้เป็นการพบเจอกันในคาบแรก อาจารย์ได้พูดแนะนำการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทั้งชี้แจงการสอน สาระสำคัญ เกณฑ์การให้คะแนน
➧แนวทางการทำ Blogger โดยให้เราใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษลงในบล็อกเพื่อเสริมทักษะภาษาอังกฤษ

👩👉องค์ประกอบเนื้อหาในบล็อค คือ👈

  • วิจัยทางวิทยาศาสตร์
  • บทความ
  • ตัวอย่างการสอน
  • คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
  • ลิงค์บล็อกกับเพื่อนๆในห้องเรียน



words(คำศัพท์)😄
Research                              วิจัย
The article                            บทความ
Teaching examples              ตัวอย่างการสอน
Science                                วิทยาศาสตร์
Experience arrangement      การจัดประสบการณ์
Early Childhood                    เด็กปฐมวัย

Evaluation(การประเมิน)😁

Self(ตนเอง)
ตั้งใจเรียน จดบันทึกสิ่งที่เพิ่มเติม และเข้าเรียนตรงต่อเวลา

Friends(เพื่อน)
เพื่อนๆได้ซักถามและตอบต่ออาจารย์ ในส่วนที่เข้าใจและไม่เข้าใจ

Teacher(อาจารย์)
มีการเตรียมการเรียนการสอน มีวิธีการสอนที่ดี อธิบายและชี้แจงอย่างละเอียด


Atmosphere(บรรยากาศ)😀




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5😃🎀💐🎁