วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2562
บันทึกครั้งที่9🌍🌙😊
⛵รูปแบบการสอนโครงการ Project Approach⛵
หลักการ
การสอนแบบโครงการ Project Approach มีหลักสำคัญ คือ การพัฒนาเด็กด้วยการให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้ ความร่วมมือรวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อค้นหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ ซึ่งการสอนแบบโครงการได้นำแนวคิดของ John Dewey มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย
การสอนแบบโครงการคือ
การสอนแบบโครงการ คือ การเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับตัวเด็ก เรียนในเรื่องที่เด็กสนใจ ส่งเสริมให้เด็กแสวงหาคำตอบด้วยตนเองอย่างลุ่มลึก เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนการสอนแบบโครงการจะเน้นให้เด็กเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการค้นหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกและให้ความรู้กับเด็กจากประสบการณ์ตรงและจากแหล่งการเรียนรู้
ลักษณะของการสอนแบบโครงการ
- การสอนแบบอภิปราย
- การนำเสนอประสบการณ์เดิม
- การทำงานภาคสนาม
- การสืบค้น
- การจัดแสดง
🌟วิธีการสอนแบบ Project Approach
เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับหัวข้อการเรียนรู้นั้น ๆ
ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอีกด้วย
🌈วีธีการจัดการเรียนการสอน 3 ระยะของ Project Approach
การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป
ระยะที่ 2 :
การพัฒนาโครงการ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก
ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้
โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย
พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก
เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง
เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น
และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น
บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร
โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน
ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า
จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการ
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป
🏠รูปภาพขั้นตอนที่เด็กๆได้เรียนรู้ในชั้นเรียน🏠
🔮สัมมนาหลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู1💎
ของพี่นักศึกษาชั้นปีที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น